น้ำมะเขือเทศ เครื่องดื่มมาแรงของคนรักสุขภาพ
กระแสการดื่มน้ำมะเขือเทศมาแรงไม่น้อยเลยค่ะ
ด้วยสรรพคุณของมะเขือเทศผลสีแดงสด ที่หลายคนรู้กันอยู่แล้วว่ามีสารอาหารสำคัญ ๆ
มากมาย โดยเฉพาะข้อมูลที่บอกต่อกันว่าทานมะเขือเทศแล้วผิวสวยใส
เลยยิ่งทำให้คุณผู้หญิงดื่มน้ำมะเขือเทศกันเป็นประจำ แต่จะบอกให้ว่า
มะเขือเทศมีดีกว่าแค่เรื่องการบำรุงผิว
มะเขือเทศให้สารอาหารอะไร
มีอะไรอยู่ในมะเขือเทศ ?
ในมะเขือเทศผลกลม
ๆ สีแดงสด มีสารอาหารอยู่มากมายทีเดียวค่ะ ลองมาดูข้อมูลทางโภชนาการของมะเขือเทศ
100 กรัม ตามที่เว็บไซต์ usda.gov ของกระทรวงเกษตรฯ สหรัฐฯ
ระบุไว้กันก่อน
* พลังงาน 18 กิโลแคลอรี
* น้ำ 94.34 กรัม
* โปรตีน 0.95 กรัม
* ไขมัน 0.11 กรัม
* คาร์โบไฮเดรต 4.01 กรัม
* ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
* น้ำตาล 2.49 กรัม
* แคลเซียม 11 มิลลิกรัม
* ธาตุเหล็ก 0.68 มิลลิกรัม
* แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม
* ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม
*
โพแทสเซียม 218 มิลลิกรัม
*
โซเดียม 11 มิลลิกรัม
*
สังกะสี 0.14 มิลลิกรัม
*
วิตามินซี 22.8 มิลลิกรัม
*
โฟเลต 13 µg
*
วิตามิน เอ 489 IU
*
วิตามิน อี 0.56 มิลลิกรัม
*
วิตามิน เค 2.6 µg
*
ลูทีนและซีแซนทีน 123 µg
นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีน
ไลโคปีน วิตามินอีกหลายชนิด ซึ่งที่เราอยากจะแนะนำให้รู้จักต่อไปก็คือ
"ไลโคปีน"
ประโยชน์ของมะเขือเทศ สรรพคุณมหัศจรรย์จาก
"ไลโคปีน"
พระเอกของมะเขือเทศลูกกลม
ๆ ก็คือ "ไลโคปีน" (lycopene) นี่เองค่ะ
ซึ่งสารไลโคปีนเป็นสารอีกตัวในกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบในผักผลไม้ที่มีสีส้มสีแดง
อย่างเช่น แตงโม มะละกอ แครอท ฟักข้าว เกรปฟรุต ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ชั้นยอด โดยจากข้อมูลของ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า
ในมะเขือเทศสด 100 กรัม จะมีปริมาณไลโคปีนประมาณ 0.9–9.30 มิลลิกรัม
ซึ่งไลโคปีนและวิตามินแร่ธาตุอื่น
ๆ ในมะเขือเทศ มีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพแทบจะทุกส่วนของร่างกาย
โดยมีงานวิจัยมากมายให้คำยืนยันถึงสรรพคุณชั้นเลิศของพืชสีแดงชนิดนี้ อย่างเช่น
+
ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ข้อนี้ถือเป็นสรรพคุณเด่นมากของพืชสีแดงชนิดนี้เลย
+
ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ เพราะมะเขือเทศมีไฟเบอร์และน้ำมาก
จึงช่วยดูแลระบบขับถ่ายให้เป็นไปอย่างปกติ
+
ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน
+
ชะลอความแก่ ริ้วรอยแห่งวัย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
+
บำรุงผิวพรรณให้สดใส ชุ่มชื้น
+
ช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลไม่ดีที่อยู่ในผนังหลอดเลือด
จึงลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
+
บำรุงสายตา เพราะมีวิตามิน เอ สูง
+ มีวิตามินซีสูง
ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
ไม่ให้เป็นหวัดง่าย
+
ควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด
+ เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน เพราะมีวิตามินเคสูง
+
ช่วยลดอาการบวมน้ำในร่างกาย
เพราะมะเขือเทศจะช่วยควบคุมสมดุลของเหลวในเซลล์และเนื้อเยื่อ
+
ช่วยทำความสะอาดคอเลสเตอรอลไม่ดีที่อยู่ในผนังหลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอลไม่ดีในกระแสเลือด
+
ทานเป็นประจำทุกวันช่วยลดความเครียดได้
+
บำรุงผมให้เงางาม แข็งแรง ดูมีสุขภาพดี
+
ช่วยขับปัสสาวะ
มะเขือเทศ ควรกินแบบสุกหรือดิบ ?
หลายคนยึดติดกับความเชื่อที่ว่าต้องทานผักแบบสด
ๆ เพราะถ้าทานผักที่ผ่านความร้อนแล้ว ผักนั้นจะสูญเสียสารอาหารสำคัญไปเกือบหมด
แต่เรื่องนี้ใช้ไม่ได้กับมะเขือเทศนะคะ
เพราะถ้าอยากรับประโยชน์จากมะเขือเทศให้มากที่สุดต้องทานแบบที่ผ่านการปรุงสุกมาแล้ว
เนื่องจากมะเขือเทศที่ผ่านความร้อนจะทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลงทำให้ไลโคปีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า
นอกจากนี้
ไลโคปีนเป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมัน ดังนั้น ถ้าใช้น้ำมันปรุงมะเขือเทศด้วย
จะยิ่งทำให้ร่างกายดึงไลโคปีนไปใช้ได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม
มีคำแนะนำให้ "ผู้หญิง" ทานมะเขือเทศสดด้วย
เพราะมะเขือเทศสดมีวิตามินซีสูง และมีใยอาหาร ทำให้ผิวพรรณดี ส่วน
"ผู้ชาย" ควรทานแบบสุก
เพื่อให้ร่างกายได้รับสารไลโคปีนที่จะช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
ส่วนที่มีบางคนสงสัยว่า
การกินมะเขือเทศดิบจะมีโทษอะไรบ้างหรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนค่ะ
เพียงแต่ว่านักโภชนาการมักแนะนำให้รับประทานมะเขือเทศสุกหากต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไลโคปีนอย่างเต็มที่
เพราะความร้อนจะทำให้ไลโคปีนอยู่ในสภาพที่ร่างกายพร้อมถูกดูดซึมได้ทันที
ถึงแม้ว่าการให้ความร้อนอาจลดปริมาณวิตามินซีลงไปบ้าง แต่คุณค่าส่วนอื่น ๆ
ก็ยังดีกว่าอาหารอีกหลายชนิด
ดื่มน้ำมะเขือเทศตอนไหนดี
ถึงได้ประโยชน์ ?
อย่างที่บอกไปแล้วว่า
การจะทานมะเขือเทศให้ได้ประโยชน์ต้องทานแบบสุก
แต่สำหรับคนที่อยากดื่มน้ำมะเขือเทศล่ะ จะได้รับประโยชน์กับเขาด้วยหรือไม่ อ.แววตา
เอกชาวนา นักโภชนาการบำบัดและผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ ก็มีคำแนะนำมาบอกว่า
การจะดื่มน้ำมะเขือเทศให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ทำได้ 2 แบบคือ
-
ดื่มก่อนอาหาร คือตอนท้องว่าง
โดยหยดน้ำมันลงในน้ำมะเขือเทศเพื่อช่วยในการดูดซึมของร่างกาย
-
ดื่มหลังอาหาร หลังจากทานอาหารก็สามารถดื่มน้ำมะเขือเทศตามได้ทันที
โดยไขมันในอาหารที่กินเข้าไปจะช่วยในการดูดซึมไลโคปีนได้ดีมากขึ้น
ใครดื่มน้ำมะเขือเทศได้-ไม่ได้ ?
อย่างที่เห็นว่ามะเขือเทศ
1 ผล ให้พลังงานน้อยมาก และมีน้ำตาลน้อยอยู่แล้ว หากนำมาคั้นแล้วไม่เติมน้ำตาลลงไป
คนอ้วน หรือคนที่อยากลดน้ำหนักก็สามารถดื่มได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกลัวอ้วนเลย
ส่วนคนป่วยโรคเบาหวานก็สามารถดื่มได้เช่นกัน
แต่ที่ต้องระวังคือ
ผู้ป่วย "โรคไต" เพราะข้อมูลโภชนาการเห็นแล้วว่า มะเขือเทศมี
"โพแทสเซียม" สูงมาก จึงไม่เหมาะกับคนป่วยโรคไต
หรือผู้ที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง เพราะร่างกายอาจขับโพแทสเซียมออกไม่หมด
นอกจากนี้
คนที่มีภาวะกรดไหลย้อน ไม่ควรทานมะเขือเทศมากเกินไป
เพราะมะเขือเทศมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งถ้าทานมากอาจทำให้เกิดอาการได้
น้ำมะเขือเทศดื่มแค่ไหนดี ? มากไป
อันตรายไหม ?
อาหารทุกชนิดถ้าทานมากเกินไปก็เป็นอันตรายได้ไม่ต่างจากน้ำมะเขือเทศ
ที่ถ้าดื่มมากเกินไปก็ต้องระวังว่าร่างกายจะได้รับวิตามินซีมากเกินไป
อาจทำให้กลายเป็นโรคนิ่วได้
นอกจากนี้
มะเขือเทศมีโพแทสเซียมสูงมาก อ.แววตา
จึงแนะนำว่าในคนปกติควรดื่มน้ำมะเขือเทศไม่เกิน 2 แก้ว หรือ 2 กล่องต่อวัน
เพราะเป็นปริมาณที่ร่างกายจะสามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้หมด
อย่างไรก็ตาม
ใครที่ชอบดื่มน้ำมะเขือเทศแบบกล่อง ยังต้องเลือกดื่มอย่างระมัดระวังด้วย
เพราะอาจมีการเพิ่มโซเดียมลงไป
ดังนั้นควรเลือกน้ำมะเขือเทศกล่องที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ ไม่เช่นนั้นร่างกายเราอาจได้รับโซเดียมมากเกินไปทั้งจากในมะเขือเทศเอง
และจากโซเดียมที่เติมเข้ามา ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น
ความดันโลหิตสูง โรคไต
ดื่มน้ำมะเขือเทศทำให้ผิวขาวได้จริงไหม
?
สาว
ๆ ยุคนี้นิยมดื่มน้ำมะเขือเทศมากขึ้น เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผิวขาวได้ แต่จริง ๆ
แล้วแค่บำรุงผิวพรรณให้ดีขึ้นเท่านั้นค่ะ โดยมีข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนี
คงคาฉุยฉาย อาจารย์ประจำ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุไว้ว่า
ในน้ำมะเขือเทศมีเบต้าแคโรทีน สารไลโคปีน และเม็ดสีส้มแดงของมะเขือเทศ
เมื่อทานเข้าไปเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ และมากเพียงพอ ก็ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
ดูอมชมพูได้ แต่ไม่ใช่สีผิวที่แท้จริง และไม่ได้อยู่คงทนถาวร
เพราะถ้าหากหยุดรับประทานไปเพียงแค่ 1 สัปดาห์ สีผิวเดิมของเราก็จะกลับมาแล้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น